»»»เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
      »»»เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
      »»»เทคโนโลยี (Technology)
      »»»สารสนเทศ (information)
      »»»เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)


               ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน  การผลิตสินค้าและการให้บริการต่างๆ  ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น  เทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง และช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วมุมโลกได้ตลอดเวลา



เทคโนโลยี (Technology)

         เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์วิธีการ หรือกระบวนการ เพื่อช่วยให้การทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ

         เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะการนำวัตถุดิบมาผ่านการดำเนินการจนได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมากประเทศที่มีเทคโนโลยี มักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่างๆ


         สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์
และวิชาการ ลองจินตนาการดูภายในสมองของมนุษย์เก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคน จึงขึ้นอยู่กับการประมวลผลและการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล สารสนเทศทำให้เกิดความรู้ เช่น การเก็บข้อมูลสภาพน้ำฝนแล้วนำมาประมวลผลสรุปรายงานเป็นสารสนเทศ ซึ่งบอกได้ว่าแต่ละเดือนมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเท่าไหร่ โดยสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อเลือกปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม
          ถึงแม้ในสมองมนุษย์จะสามารถเก็บข้อมูลไว้จำนวนมาก แต่ก็มีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้น จึงมีการสร้างเครื่องจักรเพื่อจัดการสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้ในหน่วยความจำได้ สามารถคำนวณและค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก
          คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM)  การจองตั๋วภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนและการเรียนผ่านระบบเครือข่าย


รูปที่ 1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่มา: http://www.plaza24hour.com/userdata/8570/8570_1616030312120404030337370303.jpg


รูปที่ 1.2 การฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
ที่มา :  https://jaojook.files.wordpress.com/2010/09/atm.jpg


             เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในจัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล และการแสดงผล เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบให้บริการ การใช้ และการดูแลรักษาข้อมูลด้วย
             เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดการสารสนเทศมักมีเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องร่วมด้วยเสมอ เราจึงเรียกรวมกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and Communication Technology: ICT)





      »»» 1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
      »»» 1.2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ในด้านต่างๆ
      »»» 1.2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้การบริการสะดวกขึ้น
      »»» 1.2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
      »»» 1.2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

      เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกครั้งใหญ่ เมื่อเข้าสู่ยุคของสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการงานประจำวันให้ทำได้สำเร็จเร็วขึ้นการผลิตทำได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการนำระบบอัตโนมัติด้านการผลิตมาใช้ มีระบบบัญชีและโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้านมากขึ้น กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีดังนี้

       1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  

                อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการพัฒนาให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพื่อความสะดวกในการทำงาน เช่น ความเร็วของคอมพิวเตอร์โดยรวมจะเพิ่มขึ้นทุก 18 เดือนทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้น แสดงพัฒนาการของจำนวนทรานซิสเตอร์ในซีพียูรองรับงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในอดีตเรามีการสื่อสารโดยส่งข้อความผ่านการส่งจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ปัจจุบันมีการส่งข้อความ วีดิทัศน์ เสียง ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

รูปที่ 1.3 แสดงพัฒนาการของจำนวนทรานซิสเตอร์ในซีพียู
ที่มา : https://3c1703fe8d.site.internapcdn.net/newman/gfx/news/hires/2015/
553a4b60cb2d8.jpg


                  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็นในการดำเนินงานทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ธุรกิจ หรือบันเทิง ทุกหน่วยงานมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ เช่น การเก็บข้อมูลบุคคล ระบบภาษี ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบจองตั๋วภาพยนตร์ ระบบชมรายการโทรทัศน์และฟังเพลงออนไลน์ ดังรูปที่ 1.4

รูปที่ 1.4 ตัวอย่างเว็บไซต์ฟังเพลงออนไลน์ต่างๆ
ที่มา : http://virginhitz.becteroradio.com/



                    เมื่อมีการพัฒนาระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทำให้การบริการต่างๆ มีหลากหลาย และสะดวกขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อสินค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลต่างๆ ทางโทรศัพท์ นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ดูคะแนนสอบจากที่บ้าน สามารถถอนเงินได้จากทั้งธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม จองตั๋วชมภาพยนตร์จากพนักงานตู้บริการจองตั๋ว หรืออินเทอร์เน็ตดังรูปที่ 1.5

รูปที่ 1.5  ตัวอย่างการจองตั๋วชมภาพยนตร์
ที่มา : https://www.prachachat.net/online/2014/11/14169184321416918453l.jpg


                   ในระบบที่ต้องการนำข้อมูลมาประมวลผล และดำเนินการตัดสินใจ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาใช้จะทำให้การดำเนินการต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น เช่น โรงงานผลิตรถยนต์สามารถผลิตรถยนต์ออกมาเหมือนกันทุกคัน ถ้าใช้คนทำอาจมีความเหนื่อยล้าและอาจมีความผิดพลาดได้ง่าย สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก การนำคอมพิวเตอร์มาประมวลผลสามารถทำได้ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลข้อมูลที่ต้องการมีทำงานซ้ำๆได้อย่างถูกต้องและแม่นยำอีกด้วย


                    การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายลดลง เช่น การเรียนสามารถเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียน การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าฟิล์ม ซึ่งถ้าต้องการพิมพ์รูป สามารถเลือกพิมพ์รูปที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการล้าง และอัดรูปทั้งหมดออกมาดู การส่งอีเมล์เป็นการติดต่อสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด เป็นต้น





      »»»» 1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
           1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
           3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
           4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
           5) การรักษาความปลอดภัย
           6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
           7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
           8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
      »»»» 1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
           1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
           2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
           3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
           4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
           5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
           6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
           7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
           8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

           พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วยให้การทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น แต่พัฒนาการดังกล่าวย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังต่อไปนี้

           1.3.1 ผลกระทบด้านบวก

                    ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารต่อสังคมด้านบวก เช่น

                    1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วสามารถติดต่อสื่อสารได้โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะเดินทางดังรูปที่ 1.6


รูปที่ 1.6 เทคโนโลยีสารสนเทศการทำงานและการติดต่อสื่อสารทำได้ทุกที่ทุกเวลา
ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2015/05/lad02300558p2.jpg



          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกแห่ง แม้แต่ในถิ่นทุรกันดาร มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลทำให้เป็นการกระจายโอกาสการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล ดังรูปที่ 1.7 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสารทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน


รูปที่ 1.7 การเรียนรู้ในถิ่นห่างไกล
ที่มา : https://nutnaluan.files.wordpress.com/2015/10/wpid-images.jpg?w=809

          ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนการสอน เช่น วีดิทัศน์ อีเลิร์นนิ่ง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา เช่น จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน
ในอินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลให้เข้าถึงได้อย่างเสรี เช่น เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org , http://www.vcharkarn.com และ http://www.gotoknow.org  ดังรูปที่ 1.8


รูปที่ 1.8 ตัวอย่างเว็บไซด์ให้ความรู้
ที่มาhttp://3.bp.blogspot.com/h3Wqu9rysWg/Uv78XRjWZSI/AAAAAAAAAGk/yU8xVcejMWE/s1600/Untitle222d.png

ที่มาhttps://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivq7-HfFDFpByhTwf-7PidKFyljp2YnS8BJnanWs3YmKqs-oVmF5L3tA3BSxsjoADciwbOY58wDardnmVg-MphyzGBvllh-gmPwuI-taq8Xao-G6Wwe71PtH05zKglXacXWIzym-BFEoM/s1600/ghg.png

ที่มา : http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2009/05/gotoknow.jpg

           ในด้านการค้นคว้าวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ใช้ค้นหารายงานการวิจัยที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ใช้ในการจำลองโครงสร้างอะตอม ดังรูปที่ 1.9

รูปที่ 1.9 การจำลองโครงสร้างอะตอม
ที่มา : https://image.dek-d.com/25/825116/109394261


          ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การอนุรักษ์ป่าไม้ มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร (telemeter) ตัวอย่างระบบโทรมาตรจากศูนย์สารสนเทศ กรมชลประทาน ดังรูปที่ 1.10


รูปที่ 1.10 ตัวอย่างระบบโทรมาตร
ที่มา : http://www.siamtc.co.th/wp-content/uploads/2012/02/DSC01404.jpg



          ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมีการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การตรวจสอบสัมภาระในการเดินทาง การตรวจสอบอาวุธและวัตถุระเบิด ดังรูปที่ 1.11


รูปที่ 1.11 การตรวจสอบหาอาวุธหรือวัตถุระเบิด
ที่มา:  https://phungwit.ac.th/krootim/images/unit/21.1.jpg


          การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำ และยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าและใช้บริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเราสามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อสินค้าการทำธุรกรรมทางการเงิน การดูข้อมูลที่มีผลกับธุรกิจ


          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นต่อชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ในการนี้มีหลายสถาบัน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้มีการจัดแข่งขันการพัฒนาโครงงานหรือซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นดังรูปที่ 1.12


รูปที่ 1.12 การแข่งขันพัฒนาโครงงานของสสวท.
ที่มา:  http://www.vcharkarn.com/varticle/44120



          ในการเลือกตั้งระดับต่างๆ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกระจายข่าวสาร และให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ตรายงานผลการนับคะแนน ที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังรูปที่ 1.13


รูปที่ 1.13 เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ที่มา:  http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=539016



                  ผลกระทบด้านลบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อสังคมด้านลบ เช่น


          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ อาชญากรรมอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร   ดังตัวอย่างรูปที่ 1.14 หรือเข้าแก้ไขข้อมูล เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา แก้ไขจำนวนเงินในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรม ดังที่เห็นในภาพยนตร์ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อล่อลวงผู้อื่นไปในทางที่ไม่ดี


รูปที่ 1.14 ตัวอย่างการโจรกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
ที่มา : http://dailytimes.com.pk/static/uploads/original/c279aeffbb5ee43afc205358aa61ee51.jpg




          การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพบหน้ากัน การใช้คอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกม มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อย่างไรก็ตามได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น


          ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคล บางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น ดังรูปที่ 1.15 มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น


รูปที่ 1.15  การนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์
ที่มา:  http://tommytoy.typepad.com/.a/6a0133f3a4072c970b01a3fd1a157d970b-550wi



การดำเนินงานในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือถูกทำลายจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนำข้อมูลนั้นมาใช้ได้ นอกจากนี้อาจมีผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปขโมยข้อมูลมาใช้ในทางที่ไม่ดีได้ง่ายขึ้น



ประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาช่วยในการพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น



          คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญดังเช่น ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตอาจมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาหรือภาพไม่เหมาะสม เช่น ภาพลามกอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีรับแจ้งเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมผ่านเว็บไซต์ ดังรูปที่ 1.16
นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงอีเมล์เพื่อส่งอีเมล์ถึงผู้อื่น โดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจและคำนึงถึงการใช้งานที่มีผลกระทบถึงผู้อื่น


รูปที่ 1.16 เว็บไซต์ของกระทรวงไอซีที
ที่มา:  https://f.ptcdn.info/864/012/000/1386005580-02-o.jpg


การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีปัญหาต่อสุขภาพ เช่น การเพ่งที่จอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้ปวดตา การนั่งในท่าเดิมนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ การเกร็งข้อมือขณะพิมพ์งานหรือใช้เมาส์จะทำให้เกิดการปวดข้อมือและนิ้วได้



          การติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีหลายลักษณะ เช่น ติดการเล่นเกม ติดการค้นหาเว็บ     ติดการแชท และติดการพนันหรือประมูลสินค้า ผู้ที่มีอาการติดสิ่งเหล่านี้ จะต้องการเวลาในการทำกิจกรรมนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเลิกได้ ซึ่งทำให้มีปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น ซึมเศร้า ไม่อยากนอน เชื่องช้า ก้าวร้าว ขาดวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ ควรฝึกให้บุตรหลานตระหนักถึงสิ่งที่ให้ประโยชน์หรือโทษ และควรปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบที่มีต่อครอบครัวและสังคม





      »»»» ข้อมูล (data)
      »»»» สารสนเทศ (information)
      »»»» การประมวลผล (processing)
      »»»» การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

       ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียน อายุ เพศ จำนวนประชากร ปริมาณฝน เป็นต้น ข้อมูลจะมีอยู่จำนวนมาก และจะถูกนำไปประมวลผล เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆได้มากมาย

       ข้อมูลมีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์จะผิดด้วยหรือเรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in-garbage out)

       สารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทันต่อเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้สะดวก ซึ่งสารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี

       การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม  กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ

       การประมวลผล (processing) หมายถึง การกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดทำรายงาน เป็นต้น


การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ



รูปที่ 2.1  การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ที่มา:   https://sites.google.com/site/kruyingpiyanuch/_/rsrc/1429985734919/hnwy-thi-3-kar-cadkar-sarsnthes/3-1-khxmul-laea-sarsnthes/1001.png








      »»» 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
      »»» 2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ

             ข้อมูลแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ในที่นี้ใช้ลักษณะของการรวบรวมข้อมูลเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้


             ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)  คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบ ข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยวิธีเช็คชื่อเข้าเรียน เป็นต้น


             ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ มาใช้งานโดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งสามารถนำเอาไปทำการประมวลผลต่อได้ เป็นต้น






ลำดับขั้นตอนการศึกษาบทเรียน

หน้าหลัก
»คำแนะนำการใช้บทเรียน
»คำอธิบายรายวิชา
»แบบทดสอบก่อนเรียน
»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

  »» 1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไร
      »»»เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
      »»»เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
      »»»เทคโนโลยี (Technology)
      »»»สารสนเทศ (information)
      »»»เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

  »» 1.2 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»» 1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
      »»» 1.2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ในด้านต่างๆ
      »»» 1.2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้การบริการสะดวกขึ้น
      »»» 1.2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
      »»» 1.2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

  »» 1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»»» 1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
           1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
           3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
           4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
           5) การรักษาความปลอดภัย
           6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
           7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
           8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
      »»»» 1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
           1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
           2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
           3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
           4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
           5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
           6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
           7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
           8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  »» วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

» แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
      »»» ข้อมูล (data)
      »»» สารสนเทศ (information)
      »»» การประมวลผล (processing)
      »»» การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

»»2.2 ประเภทของข้อมูล
      »»» 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
      »»» 2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ

»»2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.3.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
      »»» 2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม

»»2.4 การจัดการสารสนเทศ
      »»» 2.4.1 การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล
      »»» 2.4.2 การประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.4.3 การดูแลรักษาข้อมูล

»»2.5 ระดับของสารสนเทศ
      »»» 2.5.1 ระดับบุคคล
      »»» 2.5.2 ระดับกลุ่ม
      »»» 2.5.3 ระดับองค์กร

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 2

»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»3.1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      »»» 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit)
      »»» 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      »»» 3. หน่วยความจำหลัก (main memory)
      »»» 4. หน่วยแสดงผล (output unit)
      »»» 5. หน่วยความจำรอง (secondary storage)

»»3.2 หน่วยรับข้อมูล
      »»» 3.2.1 แป้นพิมพ์
      »»» 3.2.2 เมาส์
      »»» 3.2.3 สแกนเนอร์
      »»» 3.2.4 อุปกรณ์จับภาพ
      »»» 3.2.5 อุปกรณ์รับเสียง

»»3.3 หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน้าที่ของซีพียู
      »»» การเลือกซื้อซีพียู
      »»» การดูแลรักษา

»»3.4 หน่วยความจำหลัก
      »»» 3.4.1 หน่วยความจำแรม
      »»» 3.4.2 หน่วยความจำรอม

»»3.5 หน่วยแสดงผล
      »»» 3.5.1 จอภาพ
      »»» 3.5.2 เครื่องพิมพ์
      »»» 3.5.3 ลำโพง

»»3.6 หน่วยความจำรอง
      »»» 3.6.1 ฮาร์ดดิสก์
      »»» 3.6.2 ออปติคัลดิสก์
      »»» 3.6.3 อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

»»3.7 บทบาทของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.7.1 ด้านราชการ
      »»» 3.7.2 ด้านงานธุรกิจ
      »»» 3.7.3 ด้านการคมนาคมขนส่ง
      »»» 3.7.4 ด้านงานการศึกษา
      »»» 3.7.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์
      »»» 3.7.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
      »»» 3.7.7 งานอื่นๆ

»»3.8 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.8.1 ช่วยสร้างงาน
      »»» 3.8.2 ช่วยสร้างความบันเทิง
      »»» 3.8.3 ช่วยติดต่อสื่อสาร
      »»» 3.8.4 ช่วยสืบค้นข้อมูล
      »»» 3.8.5 ช่วยแก้ปัญหาทางด้านสังคมและประเทศ

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 3

»แบบทดสอบหลังเรียน

»แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
»ผู้จัดทำ

--ขึ้นบนสุด--

ครูนงลักษณ์ เย็นสุข

บทเรียนที่ได้รับความสนใจมากสุด

ติดต่อครูนงลักษณ์

Name

Email *

Message *

ยอดเข้าชม